วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2553

สิ่งที่ได้รับจากการเรียน วิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

สามารถนำความรู้ที่ได้รับเป็นแนวทางในการสอนเด็ก และที่สำคัญคือได้เทคโนโลยีที่แปลกใหม่เพื่อจะได้นำไปเป็นความรู้ในการทำบล็อก ซึ่งเราสามารถใช้บล็อกเป็นช่องทางในการหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ได้หลายทาง การเรียนวิชานี้ ทำให้เราได้เป็นคนที่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีสูง เท่าเทียมกับบุคคลที่เรียนสาขาอื่นๆ ดังนั้นเราควรนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนเด็กปฐมวัย เพื่อที่เด็กจะได้ความรู้ที่แปลกใหม่ และทันสมัย

จงตอบคำถามต่อไปนี้

1. ในการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยท่านต้องศึกษาในเรื่องใดบ้าง
1. จะต้องทราบว่าเด็กนั้น มีความรู้ด้านภาษ มากน้อยเพียงใด อย่างไร
2. เด็กจะเรียนรู้ได้ดี เมื่อเด็กได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง
3. ครูควรการจัดประสบการณ์ทางภาษา ให้เด็กได้เรียนอย่างสนุกสนาน
4. ในเรื่องที่สอนควรเป็นเรื่องที่เด็กสามารถนำไปใช้ได้
5. ต้องมีความเข้าใจถึงธรรมชาติ ความสนใจ การเรียนรู้ของเด็ก
2. การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยมีวัตถุประสงค์อะไร
1. เด็กจะได้รับประสบการณ์ทางภาษาที่ดี
2. เด็กได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่พร้อมไปด้วยภาษา ที่แปลกใหม่
3. เด็กสามารถแยกเสียงที่ได้ยิน
4. เด็กมีโอกาสใช้ภาษาอย่างอิสระ
3. หลักการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเดปฐมวัยมีอะไรบ้าง
1. เข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการด้านภาษา
2. ควรสร้างสื่อที่ส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก
3. ควรยอมรับและเห็นความแตกต่าง แต่ละคนของเด็ก
4. เข้าใจวิธีการจัดการเรียนรู้ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
4. ท่านมีแนวทางในการให้ความรู้กับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาได้อย่างไรบ้าง
1. แนะนำผู้ปกครองให้เข้าใจเกี่ยวกันพัฒนาการเด็ก
2. แนะนำให้ผู้ปกครองชักชวนลูกในการอ่านป้ายโฆษนาต่างๆ
3. ควรให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางภาษของลูก
4. ควรให้ลูกได้มีส่วนร่วมในการอ่านหนังสือ หรือบทความ ที่พ่อแม่กำลังอ่าน
5. ให้ท่านเลือกกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาที่ท่านชอบที่สุดพร้อมให้เหตุผล ชื่อ วัตถุประสงค์ กิจกรรม ประเมินผล
กิจกรรม ฟังและพูดตามเสียงที่ได้ยิน
วัตถุประสงค์
เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ทางภาษา จากการฟัง และการพูด
กิจกรรม
1. นำเสียงโฆษณามาเปิดให้เด็กฟัง
2. หลังจากนั้นถามเด็กว่าได้ยิน เสียงอะไรบ้าง
3. เมื่อเด็กตอบคำถามแล้ว ก็ให้เด็กพูดตามเสียงที่ได้ยิน
ประเมินผล
1. สังเกตพฤติกรรม ด้านทักษะการฟังของเด็ก
2. สังเกตการณ์ใช้คำพูด ว่าเด็กพูดคล่องแคล่วเพียงใด
3. สังเกตการมีส่วนร่วมของเด็ก

วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

มายแม็พเรื่อง เป็ด


บันทึกครั้งที่ 9

วันนี้ อาจารย์ตรวจงานที่สั่ง เรื่องแม่ไก่สีแดง และนิทานที่ให้นักศึกษาไปทำมาเป็นคู่ และให้นักศึกษาพูดเรื่องแม่ไก่สีแดงที่ไปอ่านมา เป็นรายบุคคล และอาจารย์เพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำนิทานที่สั่ง เช่น การทำลักษณะของสี การเขียนเรื่องราว โดยเรื่องที่ทำนิทานนั้นจะต้องสอดคล้องกับตัวเด็ก และอาจารย์สอนวิธีการทำมายแมด ทางคอมพิวเตอร์

บันทึกครั้งที่ 8

วันนี้ย้ายมาเรียนที่ห้อง 236 เนื่องจาก 238 มีการอบรมอาจารย์พูดเกี่ยวกับภาษา ได้แก่ ฟัง พูด อ่าน เขียนและการจัดสภาพแวดล้อม ดังนี้1.จัดแล้วเต็มไปด้วยภาษา เช่น ชื่อมุม ปฏิทิน สมาชิกในห้อง สิ่งที่ตอบสนองแก่เด็กให้เด็กได้เห็นให้เด็กเกิดการเรียนรู้2.ผ่านตัวอย่าง ครูต้องสาธิตให้เด็กดู3.ประสบการณ์ที่เหมาะสมกับวัย เช่น เปิดเทปให้เด็กฟัง โดยวางที่มุมนิทาน4.เรียนรู้โดยการรับผิดชอบด้วยกัน5.ได้มีโอกาสลงมือปฏิบัติเกิดความกระตือรือร้น6.เปิดโอกาสให้เด็กได้ทดลองจากนั้นเพื่อนก็นำเสนองานที่ไปโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมกลุ่มที่-เล่านิทานจากภาพ-เล่านิทานให้เด็กรู้จักพยัญชนะต้น สระ-การปฏิบัติตามคำสั่งบรรยากาศในห้องเรียน

บันทึกครั้งที่ 7

รายงานผลจากการไป ร.ร สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษมสรุป
จากการฟังคำบรรยายทั้ง 3กลุ่มเล่าการดำเนินกิจกรรมที่ไปลงสังเกตเด็ก ที่มีรูปแบบเดียวกัน ลักษณะกิจกรรมที่มีการใช้สื่อเครื่องเทปบันทึกเสียงต่างๆให้เด็กฟังและพูดตามเสียงนั้น และการฟังเพลงบรรเลงแล้วให้ลากเส้นตามเสียงที่ได้ยินเล่านิทานผ่านเสียงบันทึก เด็กจะมีพฤติกรรมที่ชัดเจนคือ เด็กเขินอายเป็นเพราะเด็กไม่คุ้ยเคยกัยผู้ที่จัดกิจกรรม และเด็กไม่ตอบคำถามที่ผู้จักถามเด็ก แต่เด็กบ้างคนพูดก่อนผู้จัดถาม และตอบได้ดีเวลาถามเด็ก

บันทึกครั้งที่ 6

วันนี้อาจารย์ตรวจนิทานเกี่ยวกับการตั้งคำถามแล้วให้ทายเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเด็กและให้เด็กสามารถมองเห็นภาพที่ชัดเจนสามารถให้เด็กทายนิทานที่เราตั้งให้ถูก การเลือกใช้พื้นหลังสีไม่ชูดชาด
บันทึกครั้งที่ 6
จัดกลุ่มทำกิจกรรมเกี่ยวกับการสังเกตพฤติกรรมของเด็กอ่านนิทาน อัดเสียงฟังเด็กฟัง การฟังเพลง สิ่งของที่ชอบมากที่สุดหลักการสำคัญในการเล่านิทาน1.การเลือกหนังสือ2.การตั้งคำถามเด็ก
บันทึกครั้งที่ 5 สิ่งที่ได้รับจากที่เพื่อนนำเสนองานเรื่อง การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กทำให้เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้สอดคล้องกับพัฒนาการ เพื่อส่งเสริมทักษะทางด้านการฟัง พูด อ่าน เขียนและต้องผ่านการลงมือกระทำ ทดลอง ปฏิบัติจริง บนพื้นฐานอย่างอิสระบรรยากาศในการเรียน1.เพื่อนนำเสนองานบางครั้งอธิบายไม่เข้าใจ2.เพื่อนนำเสนอพูดน้ำเสียงยังไม่ชัดเจน คำควบกล้ำ3..อากาศในห้องเรียนเย็น

วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 4

อาจารย์สั่งงาน ดังนี้
กลุ่ม 1 เรื่อง ความหมายของภาษาภาษาเป็นสิ่งจำเป็นในการถ่ายทอดวัฒนธรรม ซึ่งภาษาได้แก่การฟัง การพูด การอ่าน การเขียน นอกจากนี้ท่าทางหรือสัญลักษณ์ยังเป็นภาษา ซึ่งมีผู้ส่งสารและผู้รับสารต้องเข้าใจความหมายตรงกัน
กลุ่ม 2 เรื่อง ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาทฤษฎีของเพียเจต์ คือการเรียนรู้ของเด็กเป็นกระบวนการทำงานของระบบประสาท เรียกว่า"ปฏิบัติการ"ทฤษฎีของบรูเนอร์ เป็นการเรียนรู้จากการทำกิจกรรมผ่านทางสมอง
กลุ่ม 3 เรื่อง จิตวิทยาการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญและจำเป็นในการดำรงชีวิต สิ่งมีชีวิตไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์เริ่มเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนตาย ดัง "สิ่งที่ทำให้คนเราแตกต่างจากสัตว์อื่น ๆ ก็เพราะว่า คนย่อมมีปัญญา
องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้
1. แรงขับ เป็นความต้องการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล
2. สิ่งเร้า เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ
3. การตอบสนอง เป็นปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมต่างๆ ที่แสดงออกมาเมื่อบุคคลได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้า
4. การเสริมแรง เป็นการให้สิ่งที่มีอิทธิพลต่อบุคคลอันมีผลในการเพิ่มพลังให้เกิดการเชื่อมโยง ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองเพิ่มขึ้น
กลุ่ม 4 เรื่อง แนวคิดนักการศึกษาการสอนภาษาแบบองค์รวม คือการสอนที่เป็นไปตามธรรมชาติ เน้นสื่อที่มีความหมาย ประสบการณ์เดิมหลักการอ่านและเขียนภาษาแบบองค์รวม
1.ผู้อ่านต้องต้องเก็บข้อมูลและทำความเข้าใจความหมายข้อความที่อ่าน
2.กระบวนการอ่านต้องเชื่อมโยงกับรูปภาพที่เด็กเห็น
3.การเขียนจะเน้นความสัมพันธ์นักทฤษฎีดิวอี้ เกิดจากประสบการณ์การลงมือกระทำไวกอตสกี การเรียนรู้จาการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลใกล้เคียงฮอลลิเดย์ สถานการณ์ในสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อภาษาสำหรับเด็ก
กลุ่ม 5 เรื่อง การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กหลักการจัดการเรียนรู้ทำให้เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับพัฒนาการ เพื่อส่งเสริมทักษะทางด้านการฟัง พูด อ่าน เขียนและต้องผ่านการลงมือกระทำ ทดลอง ปฏิบัติจริง บนพื้นฐานอย่างอิสระ