วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

มายแม็พเรื่อง เป็ด


บันทึกครั้งที่ 9

วันนี้ อาจารย์ตรวจงานที่สั่ง เรื่องแม่ไก่สีแดง และนิทานที่ให้นักศึกษาไปทำมาเป็นคู่ และให้นักศึกษาพูดเรื่องแม่ไก่สีแดงที่ไปอ่านมา เป็นรายบุคคล และอาจารย์เพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำนิทานที่สั่ง เช่น การทำลักษณะของสี การเขียนเรื่องราว โดยเรื่องที่ทำนิทานนั้นจะต้องสอดคล้องกับตัวเด็ก และอาจารย์สอนวิธีการทำมายแมด ทางคอมพิวเตอร์

บันทึกครั้งที่ 8

วันนี้ย้ายมาเรียนที่ห้อง 236 เนื่องจาก 238 มีการอบรมอาจารย์พูดเกี่ยวกับภาษา ได้แก่ ฟัง พูด อ่าน เขียนและการจัดสภาพแวดล้อม ดังนี้1.จัดแล้วเต็มไปด้วยภาษา เช่น ชื่อมุม ปฏิทิน สมาชิกในห้อง สิ่งที่ตอบสนองแก่เด็กให้เด็กได้เห็นให้เด็กเกิดการเรียนรู้2.ผ่านตัวอย่าง ครูต้องสาธิตให้เด็กดู3.ประสบการณ์ที่เหมาะสมกับวัย เช่น เปิดเทปให้เด็กฟัง โดยวางที่มุมนิทาน4.เรียนรู้โดยการรับผิดชอบด้วยกัน5.ได้มีโอกาสลงมือปฏิบัติเกิดความกระตือรือร้น6.เปิดโอกาสให้เด็กได้ทดลองจากนั้นเพื่อนก็นำเสนองานที่ไปโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมกลุ่มที่-เล่านิทานจากภาพ-เล่านิทานให้เด็กรู้จักพยัญชนะต้น สระ-การปฏิบัติตามคำสั่งบรรยากาศในห้องเรียน

บันทึกครั้งที่ 7

รายงานผลจากการไป ร.ร สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษมสรุป
จากการฟังคำบรรยายทั้ง 3กลุ่มเล่าการดำเนินกิจกรรมที่ไปลงสังเกตเด็ก ที่มีรูปแบบเดียวกัน ลักษณะกิจกรรมที่มีการใช้สื่อเครื่องเทปบันทึกเสียงต่างๆให้เด็กฟังและพูดตามเสียงนั้น และการฟังเพลงบรรเลงแล้วให้ลากเส้นตามเสียงที่ได้ยินเล่านิทานผ่านเสียงบันทึก เด็กจะมีพฤติกรรมที่ชัดเจนคือ เด็กเขินอายเป็นเพราะเด็กไม่คุ้ยเคยกัยผู้ที่จัดกิจกรรม และเด็กไม่ตอบคำถามที่ผู้จักถามเด็ก แต่เด็กบ้างคนพูดก่อนผู้จัดถาม และตอบได้ดีเวลาถามเด็ก

บันทึกครั้งที่ 6

วันนี้อาจารย์ตรวจนิทานเกี่ยวกับการตั้งคำถามแล้วให้ทายเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเด็กและให้เด็กสามารถมองเห็นภาพที่ชัดเจนสามารถให้เด็กทายนิทานที่เราตั้งให้ถูก การเลือกใช้พื้นหลังสีไม่ชูดชาด
บันทึกครั้งที่ 6
จัดกลุ่มทำกิจกรรมเกี่ยวกับการสังเกตพฤติกรรมของเด็กอ่านนิทาน อัดเสียงฟังเด็กฟัง การฟังเพลง สิ่งของที่ชอบมากที่สุดหลักการสำคัญในการเล่านิทาน1.การเลือกหนังสือ2.การตั้งคำถามเด็ก
บันทึกครั้งที่ 5 สิ่งที่ได้รับจากที่เพื่อนนำเสนองานเรื่อง การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กทำให้เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้สอดคล้องกับพัฒนาการ เพื่อส่งเสริมทักษะทางด้านการฟัง พูด อ่าน เขียนและต้องผ่านการลงมือกระทำ ทดลอง ปฏิบัติจริง บนพื้นฐานอย่างอิสระบรรยากาศในการเรียน1.เพื่อนนำเสนองานบางครั้งอธิบายไม่เข้าใจ2.เพื่อนนำเสนอพูดน้ำเสียงยังไม่ชัดเจน คำควบกล้ำ3..อากาศในห้องเรียนเย็น

วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 4

อาจารย์สั่งงาน ดังนี้
กลุ่ม 1 เรื่อง ความหมายของภาษาภาษาเป็นสิ่งจำเป็นในการถ่ายทอดวัฒนธรรม ซึ่งภาษาได้แก่การฟัง การพูด การอ่าน การเขียน นอกจากนี้ท่าทางหรือสัญลักษณ์ยังเป็นภาษา ซึ่งมีผู้ส่งสารและผู้รับสารต้องเข้าใจความหมายตรงกัน
กลุ่ม 2 เรื่อง ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาทฤษฎีของเพียเจต์ คือการเรียนรู้ของเด็กเป็นกระบวนการทำงานของระบบประสาท เรียกว่า"ปฏิบัติการ"ทฤษฎีของบรูเนอร์ เป็นการเรียนรู้จากการทำกิจกรรมผ่านทางสมอง
กลุ่ม 3 เรื่อง จิตวิทยาการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญและจำเป็นในการดำรงชีวิต สิ่งมีชีวิตไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์เริ่มเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนตาย ดัง "สิ่งที่ทำให้คนเราแตกต่างจากสัตว์อื่น ๆ ก็เพราะว่า คนย่อมมีปัญญา
องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้
1. แรงขับ เป็นความต้องการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล
2. สิ่งเร้า เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ
3. การตอบสนอง เป็นปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมต่างๆ ที่แสดงออกมาเมื่อบุคคลได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้า
4. การเสริมแรง เป็นการให้สิ่งที่มีอิทธิพลต่อบุคคลอันมีผลในการเพิ่มพลังให้เกิดการเชื่อมโยง ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองเพิ่มขึ้น
กลุ่ม 4 เรื่อง แนวคิดนักการศึกษาการสอนภาษาแบบองค์รวม คือการสอนที่เป็นไปตามธรรมชาติ เน้นสื่อที่มีความหมาย ประสบการณ์เดิมหลักการอ่านและเขียนภาษาแบบองค์รวม
1.ผู้อ่านต้องต้องเก็บข้อมูลและทำความเข้าใจความหมายข้อความที่อ่าน
2.กระบวนการอ่านต้องเชื่อมโยงกับรูปภาพที่เด็กเห็น
3.การเขียนจะเน้นความสัมพันธ์นักทฤษฎีดิวอี้ เกิดจากประสบการณ์การลงมือกระทำไวกอตสกี การเรียนรู้จาการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลใกล้เคียงฮอลลิเดย์ สถานการณ์ในสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อภาษาสำหรับเด็ก
กลุ่ม 5 เรื่อง การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กหลักการจัดการเรียนรู้ทำให้เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับพัฒนาการ เพื่อส่งเสริมทักษะทางด้านการฟัง พูด อ่าน เขียนและต้องผ่านการลงมือกระทำ ทดลอง ปฏิบัติจริง บนพื้นฐานอย่างอิสระ