วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ความหมายของภาษา

วันที่ 18 ธันวาคม 2552
ความหมายของภาษา พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคำว่า “ ภาษา ” ไว้ว่า “ ภาษา คือ เสียงหรือกิริยาอาการ
ทำความเข้าใจกันได้ คำพูด ถ้อยคำที่ใช้พูดกัน ” (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 : 616)วิจินตน์ ภาณุพงศ์ อธิบายความหมายของภาษาว่า “ ภาษา หมายถึง เสียงพูดที่มีระเบียบและมีความหมาย ซึ่งมนุษย์ใช้ในการสื่อความคิด ความรู้สึก และในการที่จะให้ผู้ที่เราพูดด้วยทำสิ่งที่เราต้องการ และแทนสิ่งที่เราพูดถึง ” (วิจินตน์ ภาณุพงศ์ 2524 : 85)
บันลือ พฤกษะวัน(2522, หน้า 5) ได้ให้ความหมายของภาษาไว้ว่า “คือเครื่องมือที่ใช้สื่อความหมายที่สำคัญที่สุดของมนุษย์” เมย์ (MAY, อ้างถึง บันลือ พฤกษะวัน ,2533, หน้า5)ได้กล่าวถึงภาษาว่า การที่มนุษย์ใช้ภาษาสื่อความหมายกันได้ ย่อมเป็นเครื่องแสดงว่ามนุษย์ประเสริฐกว่าสัตว์ นอกจากนี้ ศุภวัตน์ ชื่นชอบ ได้ให้ความหมายของภาษาไว้ว่า ภาษาคือเครื่องมือการสื่อสาร (2524, หน้า1)และพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน(2530, หน้า203)ได้ให้ความหมายของภาษาไว้ดังนี้ ภาษา หมายถึง เสียงหรือกริยาอาการที่เป็นสื่อเข้าใจความหมายรู้กันได้,คำพูด,ถ้อยคำที่ใช้พูดจากัน โดยสรุปแล้วภาษาก็คือเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกันและกันให้เข้าใจนั่นเอง
อาจกล่าวโดยสรุปว่า “ ภาษา ” หมายถึง เครื่องมือในการสื่อความหมายซึ่งใช้ถ่ายทอดความคิด ความรู้สึก ความต้องการของตนให้ผู้อื่นทราบ ไม่ว่าจะเป็นเสียงพูด ถ้อยคำ กิริยาอาการ หรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ

วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2552

เนทนิคการสอนภาษา 27/พ.ย/2552

เทคนิคการสอนภาษา
การสอนภาษาสำหรับเด็กไม่ใช่เพียงการสอนเฉพาะทักษะการอ่านและการเขียนเท่านั้นแต่ต้องร่วมถึงทักษะการฟัง การพูดด้วย เพราะการฟังและการพูดเป็นพื้นฐานของการอ่านและการเขียนครูสามารถประเมินผลการสอนของตนเองจากเด็กง่ายๆ โดยให้เด็กสังเกตว่าเวลาเราสอนเด็กรู้สึกอย่างไร ถ้าเด็กรู้สึกเครียด เบื่อไม่สนุกด้วยแสดงว่าการสอนภาษาของเราน่าจะไม่ถูกต้องเสียแล้ว
ข้อปฏิบัติในการสอนภาษา
1. ควรสอนในสภาพที่เป็นธรรมชาติที่สุด ไม่ใช่การจับเด็กมานั่งเรียนอย่างเดียว
2. ควรสอนโดยไม่มีการแบ่งแยกกลุ่มเด็กเก็งเด็กอ่อน
ครูควรสอนภาษาเด็กอย่างไร
1. เริ่มจากสิ่งที่เด็กรู้แล้วและอยู่ในความสนใจของเด็ก
2. ให้ความเคารพและยอมรับภาษาที่เด็กใช้
3. ใช้วิธีการประเมินที่เหมาะสม
ข้อควรปฏิบัติในการสอนภาษา
1. ควรสอนในสภาพที่ธรรมชาติ
2. ควรสอนโดยไม่มีการแบ่งแยกกลุ่มเด็กเก็งเด็กอ่อน

วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ครั้งที่ 2 วันที่ 13/11/2552

การเรียนวันนี้อากาศเย็นสบาย อาจารย์สั่งงานให้แบ่งกลุ่ม หางานที่ได้รับมอบหมาย กลุ่มของข้าพเจ้าได้งาน เรื่อง แนวคิดนักการศึกษา หลังจากนั้นก็ทำงานที่ได้รับมอบหมาย พร้อมทั้งอาจารย์ยังตรวจการแต่งกายของนักศึกษาเป็นรายบุคคล พร้อมทั้งยังอธิบายในรายวิชาที่สอน ทำให้มีความเข้าใจเพิ่มขึ้นในการเรียน การสอน ในวันนี้

วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วันแรกที่เข้าเรียน


น.ส.จินต์นิภา วรรณจาโร
รหัส 5111200167 เลขที่ 1 วันที่ 6 พ.ย 2552

การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
เป็นการจัดกิจกรรมที่เน้นความสามารถทางภาษาของเด็กเป็นสำคัญ ให้เด็กได้พัฒนาในด้านการอ่าน การฟัง การพูด การเขียน เป็นต้น

สภาพบรรยากาศในห้องเรียน
เมื่ออาจารย์เดินเข้ามา ในห้องเรียน รู้สึกตื่นเต้น เพราะไม่ได้เจอกับอาจารย์มาเป็นเวลานาน และบรรยากาศในห้องเรียนก็เย็นสบาย สงบ น้ำเสียงการพูดจาของอาจารย์ ฟังแล้วรู้สึกสบาย ทำให้บรรยากาศหน้าเรียนมาก

การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย (เพิ่มเติม)
การจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กปฐมวัย ควรจัดให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก จะต้องคำนึงถึงตัวเด็กเป็นสำคัญ จะต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กเพื่อส่งเสริมในทุกๆด้าน ควรเลือกประสบการณ์ที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก และต้องคำนึงถึงความแตกต่างของพัฒนาการของเด็ก และความสนใจของเด็ก

สรุป การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย นั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการจัดประสบการณ์ จะต้องคำนึงถึงพัฒนาการในทุกๆ ด้านของเด็ก และต้องคำนึงถึงความแตกต่างและความสนใจของเด็กเป็นรายบุคคล